วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขนมชาวญี่ปุ่น^ ^

ขนมชาวญี่ปุ่น ^ ^


       ขนมไดฟูกุ เป็นขนมพื้นเมืองของชาวญี่ปุ่นมีความหมายว่า โชคดี โดยถั่วไปเป็นขนมที่ทำจากแป้งโมจิสอดไส้ด้วยถั่วแดงกวน ในภายหลังราวปี 1980 มีการคิดค้นและดัดแปลงขนมดังกล่าวโดยการใส่สตรอเบอรรี่สดไว้ตรงกลางขนมเพื่อ ให้ความเปรี้ยวจากสตรอเบอรี่ตัดรสหวานของถั่วแดง ซึ่งเข้ากันได้เป็นอย่างดีกับแป้งโมจิอันหนุบหนับ จนกลายเป็นขนมโมจิอันโด่งดังที่มีขายกันทั่วเมืองในประเทศญี่ปุ่น และนี่เองเป็นที่มาของ “Strawberry Daifuku” หรือ “Strawberry Red Bean Mochi” Softcream เมนูใหม่ล่าสุดประจำเดือนที่ได้แรงบันดาลใจมาจากขนมอันเลืองชื่อและเป็นที่ โปรดปรานของคนญี่ปุ่น มาผสม เข้ากับนมสดจากเกาะฮอคไกโด จนได้เป็น Softcream ที่เป็นเอกลักษณ์ เข้มข้น เสริฟพร้อมโมจิที่เหรียวนุ่ม รสชาติแบบญี่ปุ้นญี่ปุ่นที่เดียวในเมืองไทยที่ B.NATURALE SOFTCREAM BAR TOKYO ทั้ง 3 สาขา รวมถึง สาขา พาราไดซ์ พาร์ค ที่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้ว ความอร่อยนี้มีให้ลิ้มลองวันนี้ถึงสิ้นเดือนตุลาคมศกนี้เท่านั้น

     ขนมโมจิเป็นขนมของญี่ปุ่น ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับของขนมโมจิ แล้วต่อมาได้มีคนไทยไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่นได้ซื้อขนมโมจิกลับมาเพื่อเป็นของฝากจากประเทศญี่ปุ่น และได้ลองทานดูปรากฎว่า โมจิแข็ง และมีรสชาติที่ไม่อร่อยถูกปากคนไทย จึงได้มีการดัดแปลง รสชาติความอร่อยให้ถูกปากคนไทย และขนมโมจิได้ถือกำเนิดที่ประเทศไทยจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแห่งแรกของประเทศ เมื่อประมาณ 20 กว่าปี และขนมโมจิที่ขึ้นชื่อของจังหวัด จึงถือได้ว่าขนมโมจิเป็นของฝากจากจังหวัดนครสวรรค์ที่คนประเทศได้รู้จักและเมื่อไหร่ที่มาจังหวัดนครสวรรค์หรือผ่านมาจะต้องซื้อไปเป็นของฝาก จนถึงขณะนี้เรียกได้ว่า ขนมโมจิเป็นขนมประจำจังหวัดนครสวรรค์ มานครสวรรค์จึงต้องซื้อขนมโมจิ 


  
     ขนมหวานญี่ปุ่นเรียกรวมกันว่า "วากาชิ" (Wagashi) มีมานานตั้งแต่สมัยนะระหรือประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว แต่เฟื่องฟูสุดๆในช่วงเอโดะ (ปี ค.ศ. 1603-1867) โดยเฉพาะในเมืองเกียวโตและโตเกียว แต่ละร้านแข่งกันขายแข่งกันคิดขนมใหม่ๆจนกลายเป็นต้นตำรับของขนมญี่ปุ่น ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานประจำชาติ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ไม่ได้กินวากาชิกันบ่อยๆ ประเภทกินตบท้ายมื้ออาหารแบบบ้านเรานั้นไม่มี เพราะเขานิยมกินผลไม้กันมากกว่า ส่วนวากาชินี้จะกินเป็นของว่างและในโอกาสพิเศษเมื่อมีพิธีการต่างๆเช่น พิธีแต่งงาน หรือพิธีชงชา แรงบันดาลใจของพ่อครัวแม่ครัวในการสร้างสรรค์ขนมวากาชินั้นก็ได้มาจากธรรมชาติ ต้นไม้ ดอกไม้ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เช่น ฤดูใบไม้ร่วงจะทำขนมคิคุโกะโระโมะรูปดอกเบญจมาศ ส่วนฤดูหนาวก็ทำยูคิโมจิ หรือโมจิหิมะ เป็นต้น 




    "ขนมโตเกียว" ชาวญี่ปุ่นมาเมืองไทยก็คงงงและประหลาดใจเมื่อเจอกับขนมชื่อนี้ ส่วนชาวไทยไปญี่ปุ่นถามหาขนมชนิดนี้เท่าไหร่ก็ไม่มีวันเจอ
ขอแยกข้อสันนิษฐานการเกิดขนมโตเกียวเป็น 2 ข้อครับ

1. เป็นขนมไทย
 เป็นขนมที่คนไทยประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเอง แล้วตั้งชื่อตามเหตุการณ์ หรือสถานที่ที่กำลังโด่งดัง ยกตัวอย่างเช่น กรณีลอดช่องสิงคโปร์ ขายที่หน้าโรงหนังสิงคโปร์ แต่ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับประเทศสิงคโปร์เลย หรือกรณีรถสามล้อเครื่องสกายแลปของทางภาคอีสาน ก็ได้ชื่อมาจากการส่งสถานีอวกาศ Skylab ของ NASA ขึ้นสู่อวกาศในช่วง พ.ศ. 2522 ทั้งๆ ที่รูปร่างก็ไม่ได้เหมือน Skylab เลย

2. เป็นขนมญี่ปุ่น แต่ดัดแปลงให้ถูกปากคนไทย
    เมืองเกียวโต... นอกจากเป็นเมืองหลวงเก่าแล้ว ยังเป็นแหล่งขึ้นชื่อเรื่องขนมญี่ปุ่นอีกด้วย เมื่อหลายปีก่อนได้ดูรายการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นพาไปกินขนมในเมืองเกียวโต ก็พบกับขนมที่มีรูปร่างและวิธีทำคล้ายกับขนมโตเกียวของไทย ประมาณนี้...

 จากการสืบค้นข้อมูลเท่าที่ทำได้ พบว่าเกียวโตมีขนมที่มีส่วนประกอบเป็นแผ่นแป้งคล้ายแพนเค้กแบบนี้หลากหลายชนิด ส่วนใหญ่เป็นแป้งแผ่นเดียวแล้วพับหรือม้วน ข้างในยัดไส้ถั่วแดงกวน ไม่ก็เผือกมันตามสไตล์ญี่ปุ่น
ส่วนชนิดที่พวกเรารู้จักกันดีจะมีแผ่นแป้ง 2 แผ่นประกบติดกัน นั่นคือ โดรายาคิ
คาดว่าในช่วงที่การค้าไทย-ญี่ปุ่นกำลังเฟื่องฟูมีห้างไดมารุและบันไดเลื่อนแห่งแรกในไทย (พ.ศ. 2507) ขนมเหล่านี้คงหลั่งไหลเข้ามาพร้อมกับสินค้าญี่ปุ่น ต่อมาชาวไทยที่ได้เห็นขนมโก้หรูจากเมืองนอกก็ลองไปทำเลียนแบบ หะแรก คงตั้งชื่อว่าขนมเกียวโตตามแหล่งผลิตขนมที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ภายหลังเพี้ยนมาเป็นขนมโตเกียว (เพราะคนไทยรู้จักแต่โตเกียว)
ในการลองทำช่วงแรกๆ ได้ดัดแปลงใช้สังขยาและครีมคัสตาร์ทเป็นไส้แทนถั่วแดงกวนเพื่อให้ถูกปากคนไทย ต่อมาจึงริเริ่มใส่ไส้กรอก* และไข่นกกระทาเข้าไปจนกลายมาเป็นขนมโตเกียวของไทยเราทุกวันนี้





     เป็นขนม Manju ไส้ถั่วแดงที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกับน้ำชา นอกจากความหวานอร่อยของขนมแล้ว  ความน่ารับประทานของขนมที่เป็นที่ออกแบบเป็นรูปใบเมเปิ้ล ก็ทำให้ Momijimanju เป็นของฝากขึ้นชื่อของ Hiroshima ไปเลย




    เป็นคุ้กกี้สอดไส้ White Chocolate ซี่งเนื้อคุ้กกี้จะถูกอบด้วยความเกรียมที่กำลังพอดี บวกกับ White Chocolate ที่ทำจากน้ำนมอันเลื่องชื่อของ Hokkaido ทำให้ Shiroi Koibito เป็นที่ติดอกติดใจทั้งของคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามสนามบินแทบจะทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่น


     
  Jagapokkuru (じゃがポックル) ของ ฝากจากจังหวัด Hokkaido  รูปลักษณ์ภายนอกก็เป็นแค่มันฝรั่งแท่งทอดกรอบทั่วไป แต่รสชาตินั้นสุดยอด ผลิตโดยคาลบี้ ที่พวกเรารู้จักกันดี ภายใต้แบรนด์ Potato Farm ออกวางขายตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2006 ในช่วงแรกๆ ก็ไม่ได้มีการโฆษณาแต่อย่างใด ด้วยความอร่อย และเสียงปากต่อปากจากผู้ชิมทั้งหลาย ทำให้ขายดีถึงขนาดที่จะต้องจำกัดจำนวนซื้อต่อคนต่อครั้งกันเลยทีเดียว  ในช่วง 2-3 ปีมานี้ ได้มีการเพิ่มกำลังการผลิตมากขึ้น  ทำให้สามารถหาซื้อได้ง่ายขึ้น ตามสนามบินและร้านตัวแทนจำหน่ายบางแห่ง  



    
    Uirou (ういろう) ของ ฝากจากจังหวัด Aichi (愛知) เป็นขนมขึ้นชื่อของเมือง Nagoya (名古屋) ที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นขนมที่มีมาตั้งแต่สมัยแรกในยุคเอโดะ (江戸時代) ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าที่นำไปนึ่ง รสหวานอ่อน ๆ นุ่ม ๆ มีทั้งรสน้ำตาลขาว น้ำตาลดำ ถั่วแดง และชาเขียว เป็นขนมที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกับน้ำชาเป็นลำดับต้นๆ เลยทีเดียว

_____________________________________________________________________________

     

1 ความคิดเห็น: