วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขนมชาวออสเตรเลีย ^ ^


ขนมชาวออสเตรเลีย ^ ^

               ชาวไทยในนครซิดนีย์ร่วมกันจัดงานสงกรานต์มีงานออกร้าน ขายข้าวแกง และแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวออสเตรเลียได้ชมที่สวนทามาลองปาร์คในเขตดาลิ่งฮาร์เบอร์ ผมเห็นพี่คนหนึ่งที่ทำขนมไทยเป็นอาชีพ เธอมีขนมมากมายมาขายเด็กๆ อย่างผม อาทิเช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ขนมชั้น, ขนมเปียกปูน, ขนมกล้วย, ข้าวเหนียวสังขยา, ข้าวต้มมัด  เป็นต้น ประชาชนชาวไทยในนครซิดนีย์อยู่อย่างมีความสุขได้เพราะขนมของเธอจริงๆ



Lamingtons ขนมเค้กคลุกมะพร้าว 
เกริ่นเรื่องมานี้ ทำให้ผมนึกถึงเพื่อนชาวออสเตรเลียของผมคนหนึ่งที่รู้จักกัน เขาชอบฝากผมซื้อขนมเค้กก้อน ที่ชาวออสเตรเลียเรียกว่า ลามิงตัน (Lamingtons) จากร้านขายขนมเค้กหรือร้านขายกาแฟ   
เขาบอกว่า ให้ขอซื้อเค้ก Lamingtons (และเน้นกับผมว่า ชาวออสเตรเลียทุกคนต้องรู้จัก) ตอนแรกๆ ผมก็มึน ความรู้สึกเหมือนบ้านนอกเข้ากรุง ไม่รู้จักเจ้า Lamingtons (พอจะเปรียบเทียบเสมือนฝรั่งไม่รู้จักทองหยอดอย่างไรอย่างนั้น) พอไปถึงร้านขายขนมเค้า เจ้าของร้านก็บอกว่าขายหมดไปแล้ว ผมเลยไม่มีโอกาสได้รู้ว่ามันคืออะไร  
จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาซื้อขนมเค้กนี้มาให้ผม ผมจึง “อ๋อ คุณเค้กบ้านี่เอง” อ๋อตรงที่ว่า ผมเคยเห็นมาแล้ว รับประทานก็แล้ว เพราะมีขายอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน จึงกลับมาบ้านทำรายงาน ค้นคว้าว่าเจ้า Lamingtons มันคืออะไร ผมจะเล่าให้ฟังแบบที่ออสซี่เล่าให้ผมฟังเลยครับว่า เขาทำLamington กันอย่างไร 
Lamingtons มีที่มาที่ไปอย่างไรไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่พอจะทราบความมาว่า เด็กๆ ชาวออสเตรเลีย เบื่อขนมเค้กแบบธรรมดาๆ มาก แม่บ้านคนหนึ่งจึงคิดสนุก เอาครีมทาหน้าเค้กรสชอกโกเลตทาโดยรอบแล้วไปคลุกด้วยกากมะพร้าวป่นๆ  ตากให้แห้ง แล้วก็มาให้เด็กๆ รับประทาน  เด็กๆ ก็ชอบใจ พอใครถามว่ามันเรียกว่าอะไร เธอก็บอกว่า มันคือ “ลามิงตัน”  ตั้งแต่นั้นมา เด็กๆ คงจะติดใจ เลยมีการทำกันเป็นล่ำเป็นสัน กันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  เวลาถามหาเค้กตัวนี้ เราก็จะต้องถามหาLamingtons (ใช้ชื่อนี้ไปเลย ไม่ใช้คำว่าเค้ก) วันนี้ก็จะพาเข้าเบเกอรี่เลยก็แล้วกัน
วิธีทำขนมเค้ก Lamingtons (แบบคนขยัน และแบบคนขี้เกียจ) 
1.      อันดับแรก เราต้องอบ Sponge cake (ขนมเค้กธรรมดาๆ) ให้เป็น(เค้ก) ก่อน ให้พอรับประทานได้ก่อน หรือ วิธีลัด ก็คือไปซื้อเค้กที่ยังไม่ได้แต่งหน้ามา  แต่ต้องมั่นใจว่าเค้กที่อบหรือซื้อมานั้น ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม ห้ามซื้อหรือทำแบบกลมๆ (เพราะเค้กนี้ของแท้ตำรับดั้งเดิมต้องเป็นรูปเหลี่ยมเท่านั้น)
2.      ตัดเค้กเป็นก้อนๆ สี่เหลี่ยมลูกเต๋าใหญ่เท่ากำมือ ทาด้วย Frosting (ที่แต่งหน้าเค้ก) ช็อกโกแลตโดยรอบ
3.      แล้วเอาไปกลิ้งในมะพร้าวขูดฝอย
4.      ตากไว้ให้แห้ง
5.      รับประทานได้ตามใจชอบ

ส่วนผสมของ Frosting
น้ำตาลไอซิ่ง 2 ถ้วย
น้ำเดือด 1 ช้อนชา
กลิ่นวนิลา 1 ช้อนชา
โกโก้ 2 ช้อนชา
 วิธีทำ 
นำน้ำตาลไอซิ่งใส่ถ้วย, น้ำเดือด และกลิ่นวนิลา แล้วใส่โกโก้ ซึ่งคลุกกับไอซิ่งจนเข้ากันดีและกลายเป็นสีน้ำตาลดำ 




Damper แป้งอบ แป้งเผา 
ก็เลยถือโอกาสนี้เล่าเพิ่มถึงอาหารว่างอีกอย่างหนึ่งคือเจ้า Damper 
ส่วนประกอบของ Damper มีสองอย่างคือ แป้ง น้ำ และ เกลือ 
วิธีทำง่ายๆ ของเขาคือ เอาแป้ง 500 กรัม และเกลือ 1½ช้อนชา ใส่ในชามใหญ่ ใส่น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ แล้วก็คลุกผสมกัน  ใส่น้ำเพิ่มได้ตามต้องการ ทำให้เป็นก้อนแป้ง แล้วปั้นเป็นลูกบอล บี้ให้กลม แล้วทำให้แบน มีความหนาของแป้งประมาณ 6 เซนติเมตร  เสร็จแล้ว เอา แป้งนี้ เข้าไปอบในเตาผิงไฟ จนแป้งสุก  ซึ่งมันอาจจะดำๆ (ประมาณ 30 นาที)  หรือหากจะอบแบบดีหน่อยก็ให้ห่อกระดาษฟลอย  ถ้าไม่ชอบให้แป้งไหม้ใช้อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที  แต่ถ้าอยู่ในป่า ให้เอาแป้งห่อไม้เอาไว้ (เหมือนกุ้งพันอ้อย) แล้วก็ผิงไฟที่ก่อจนกว่าจะสุกดี   ไม่ว่าจะทำแป้งอบด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ พอสุกแล้วก็เสิร์ฟได้ทันที โดยปรกติจะเสิร์ฟกับเนย



    เมอแรงก์ ( meringue )
ชาติฝรั่งมีของหวานประเภทหนึ่ง เรียกกันว่า เมอแรงก์ ( meringue ) ซึ่งเกิดจากการเอาไข่ขาวมาตีกับน้ำตาลแล้วนำไปอบ และของหวานประเภทนี้ ก็มีอยู่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ปาฟลอฟว่า หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า ปาฟ แต่โดยทั่วไป ส่วนมากก็มักจะจัดของหวานรายการนี้อยู่ในประเภทเค้ก อาจจะเป็นเพราะการที่มันมีการตกแต่งหน้าเหมือนกับเค้กนั่นเอง
   ชื่อปาฟลอฟว่านี้ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติกับนักเต้นบัลเล่ต์ระดับตำนานชาวรัสเซีย อย่าง อันนา ปาฟลอฟว่า ( ตามจริงในภาษารัสเซียออกเสียงว่า ปาฟลาว่า ) ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อตอนอายุ 50 ปี ตั้งแต่เมื่อต้นปี 1931 แล้ว
ขนมนี้ ปัจจุบันเป็นขนมยอดนิยม และมีบทบาทสำคัญในอาหารประจำชาติของทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยส่วนมาก คนในทั้งสองประเทศ มักจะทำกันในช่วงการฉลองโอกาสพิเศษ หรือไม่ก็เป็นอาหารในช่วงเทศกาลวันหยุด อย่างเทศกาลคริสต์มาส
    เชื่อกันว่า ขนมนี้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติกับการเดินทางมาเปิดการแสดงของอันนา ปาฟลาว่า แถวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในยุค 20 แต่ปัจจุบัน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่า ชาติไหนที่เป็นเจ้าของสูตรขนมชื่อนักบัลเล่ต์ชื่อดังรายนี้ ระหว่างออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ แต่หลักฐานที่พอจะมีอยู่ ชี้ออกมาทางนิวซีแลนด์มากกว่า
    ฝ่ายนิวซีแลนด์บอกว่าหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบ ก็คือการตีพิมพ์สูตรขนมที่ว่านี้ในนิตยสารระดับท้องถิ่นของนิวซีแลนด์ในปี 1929 และก็มีการอ้างว่า ผู้รังสรรค์สูตรขนมนี้ขึ้นมา ก็คือพ่อครัวชาวนิวซีแลนด์ของโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเวลลิงตัน ตอนที่ปาฟลอฟว่า มาเปิดการแสดงที่นี่ในปี 1926
     ในส่วนของฝ่ายออสเตรเลีย เอกสารเก่าแก่ที่สุดบอกว่าผู้ที่ทำขนมนี้ คือนาย Bert Sachse แห่งโรงแรม Esplanade ในเมืองเพิร์ธ ของออสเตรเลีย ที่ทำไว้เมื่อปี 1935 ซึ่งก็ถือว่าตามหลังของนิวซีแลนด์อยู่หลายปี  แต่ทางญาติของนาย Sachse ก็บอกว่าตัวเลข 1935 อาจจะเป็นตัวเลขที่ผิดพลาดก็ได้ เพราะตามจริงมันน่าจะเก่าแก่กว่านั้น






ส่วนวิธีการเตรียมขนมประเภทนี้แบบคร่าวๆ ก็คือ การตีไข่ขาวจนขาวข้น ก่อนจะเติมน้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆอย่างแป้งข้าวโพด จากนั้นก็นำไปอบ ซึ่งจะทำให้ด้านนอกของขนมกรอบ ส่วนด้านในจะนุ่ม ซึ่งความนุ่มข้นนี้ ขนมปาฟลอฟว่า จะแตกต่างจากขนม เมอแรงก์แบบอื่นๆ
ตามธรรมเนียมแล้ว ขนมนี้มักประดับประดาด้วยวิปครีม และผลไม้อื่นๆเช่นกล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี่ ลูกกีวี และอื่นๆ ทำให้มันดูคล้ายขนมเค้ก  (แต่ลองถามน้องที่ทำงาน ที่เขาเคยกินชนมเมอแรงก์ บอกว่าขนมเมอแรงก์ ไม่มีการแต่งหน้า )
เขียนมาซะยืดยาว แต่ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นขนมแบบนี้ตัวเป็นๆเลย 55555
ว่ากันเรื่องขนมไปแล้ว มาพูดถึงบุคคลอันเป็นที่มาของชื่อขนมกันบ้าง

อันนา ปาฟลอฟว่า เกิดเมื่อต้นปี 1881 ที่เซ็นปีเตอร์สเบิร์ก ที่ตอนนั้นเป็นเมืองหลวงของประเทศ และต่อมาเธอได้ชื่อว่าเป็นนักบัลเล่ต์คลาสสิกหญิงที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยเธอเป็นนักบัลเล่ต์หญิงคนแรก ที่ออกไปเปิดการแสดงทั่วโลก





     อาหารท้องถิ่น: สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรม การกินของชาวออสเตรเลียนอย่างแท้จริง แนะนำให้ไปลองชิม อาหารพื้นเมืองออสเตรเลียขนานแท้ ได้แก่ Shepherd Pie หรือจะเป็นอาหารจานโปรดของชาวออสซี่ เช่น Vegemite ถ้าเอ่ยถึงของหวานก็จะเป็น Lamington หรือ Lemmington ขนมหวานออสเตรเลียนที่ใครได้ลองเป็นต้องติดใจไปทุกราย ซึ่งนิยมทานกับน้ำชาหรือกาแฟยามบ่าย...



  Pavlova (พัฟโลวา)
   Pavlova (พัฟโลวา) ถ้าจะเปรียบดูวิธีทำแล้ว ก็คือขนม Meringue (เมอร์แรงก์) ของชาวฝรั่งเศส นั่นแหละค่ะ เชื่อว่าผู้ที่รักการทำขนมเค้กหรือเบเกอรี่ต้องรู้จักขนมนี้กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว ขออภัยหากมีการรีวิวซ้ำนะคะ ลักษณะของขนม Pavlova ก็คือขนมแบบกรอบซึ่งได้จากการตีไข่ขาวกับน้ำตาล นั่นเอง
    ขนม Pavlova นี้ มีเรื่องเล่าว่า ตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบัลเลท์ชื่อก้องโลกชาวรัสเซีย ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชื่อ Ms. Ann Pavlova ที่ได้เดินทางไปแสดงทั่วโลกในขณะนั้น ว่ากันว่า ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ต่างอ้างตนเป็นผู้คิดค้นขนมนี้ขึ้น โดยนิวซีแลนด์ เป็นชาติแรกที่เชื่อว่าขนมนี้เกิดขึ้นในประเทศของตนก่อนคนอื่น เมื่อปี ค.ศ. 1926 ซึ่งเป็นช่วงที่ Ms. Pavlova ไปหลบพายุที่ประเทศนี้ ต่อมาออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่สองที่อ้างว่าขนมนี้เกิดที่ประเทศของตนนะ โดย chef Bert Sachse ของโรงแรม The Esplanade Hotel, Perth เป็นผู้คิดค้นสูตรขนมนี้ ในปี ค.ศ. 1935 หลังจากที่Ms. Ann Pavlova ไปพักที่โรงแรมแห่งนี้
     เรื่องเล่าก็น่าสนใจดีนะคะ โดยส่วนตัวคิดว่าที่เขาตั้งชื่อขนมตามนักบัลเลท์ท่านนี้ ก็คงเป็นเพราะลักษณะของขนมเป็นสีขาวพอง ๆ เหมือนกระโปรงของนักบัลเลท์กระมังคะ

สูตรที่ทำในวันนี้ได้จากตำราอาหาร The Oprah Magazine Cookbook เป็นตำรารวมเล่มสูตรอาหารที่ได้ลงในนิตยสารของ Oprah เศรษฐีนีด้านการบันเทิงของอเมริกา เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักอยู่แล้ว ในหนังสือเขาจะทำขนมในลักษณะแบบดั้งเดิม คือเทไข่ขาวที่ตีแล้ว เป็นกอง แล้วก็เกลี่ยด้วยหลังช้อน ให้เป็นหลุมตรงกลาง แล้วนำเข้าเตาอบ เมื่อสุกได้ที่แล้ว ก็แต่งรสชาติหน้าตาด้วยวิปปิ้งครีมและเบอร์รี่ต่าง ๆ วันนี้เราทำเป็นแบบมินิ เล็ก ๆ คืออยากให้เขาสวยน่ะค่ะ แต่ปรากฏว่าทำยากเหมือนกัน เพราะต้องกะอุณหภูมิใหม่เอง คือแบบเล็ก อุณหภูมิที่อบก็ต้องอ่อนตามขนาดของขนมไม่อยากบอกว่าเราลองทำตั้งสามครั้งแล้ว แต่ละครั้งขนมที่ได้ก็กรอบอร่อยอ่ะค่ะ แต่ข้อยากก็คือทำยังไงเขาถึงจะขาวไม่มีรอยไหม้ ทำครั้งแรกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ครั้งที่สองเป็นสีน้ำตาลรำไร ครั้งที่สามเป็นสีอะไรก็ช่างแล้วค่ะ เพราะเหนื่อย แหะแหะ ได้ออกมาก็ดีขึ้นมาก 



___________________^ ^_______________________________________

1 ความคิดเห็น:

  1. น่าทานมากเลยค่ะ แหมแบบนี้อ้วนก็อ้วนเถอะ อิอิ

    ตอบลบ