วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขนมชาวจีน ^ ^

ขนมชาวจีน ^ ^

ตำนานเทศกาลไหว้พระจันทร์
ความศรัทธาเก่าแก่ 
            ความจริง ชาวจีนมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระจันทร์มาแต่โบราณกาล ยิ่งกว่าพระอาทิตย์ การนับปฏิบทินก็นับโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ดังที่เรียกว่า จันทรคติ 
            การเพาะปลูก และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ชาวจีนโบราณจะอาศัยดูจากดวงจันทร์ เพื่อให้เหมาะสมในการทำนาทำไร่ ซึ่งต้องอาศัยเป็นหลัก รวมความว่า ชาวจีนแต่โบราณให้ความสำคัญทางด้านจิตใจต่อดวงจันทร์มาก ในเรื่อง

การทำนา-ไร่                                                 
การเพาะปลูกพืชต่าง ๆ
การเจริญเติบโตของพืช
การเพาะชำพืช และ
การดูปริมาณน้ำขึ้น-น้ำลง
ดังนั้น จึงมองเห็นว่า ดวงจันทร์มีคุณต่อมนุษยชาติมาก ทั้งมีแสงสว่างร่มเย็น สบายตา น่าสดชื่นรื่นรมย์เป็นอย่างมาก อากาศกำลังดี ไม่ร้อนไม่หนาว 
                        อีกตำนานหนึ่ง              มีอีกตำนานหนึ่งที่มีเรื่องราวเล่าสืบต่อกันมา คือวันเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ เป็นวันแห่งการปลดแอกชาติจีน ให้พ้นจากการปกครองของ พวกตาด (Tartar) คือ พวกเผ่ามงโกล จากมงโกเลีย              เนื่องจากสมัยหนึ่ง เข้าสู่ยุคที่ชนเผ่ามงโกลเรื่องอำนาจบุกรุกเข้ามายึดครองแผ่นดินจีนได้              พวกมงโกลได้ก่อกรรมทำเข็ญต่อคนจีนอย่างมาก โดยวางกฎอำนาจไว้ว่า คนจีน 3 ครอบครัว จะต้องเลี้ยงดูคนมงโกล 1 คน ให้อยู่ดีกินดีทุกอย่าง              อาวุธที่เป็นของมีคมขนาดใหญ ขนาดกลาง เช่นมีด ขวาน ตลอดจนของมีคมจะถูกยึดหมด แต่ละครอบครัวให้ใช้ได้แค่มีดบางเล็ก ๆ สำหรับหั่นผักต้มแกงและผัดเท่านั้น              ถ้าบ้านเรือนใกล้เคียงกัน มีดบาง 1 เล่ม อนุญาตให้ใช้ร่วมกันได้ 3 ครอบครัว ใครฝ่าฝืนกฎมีโทษถึงตาย
 เกิดความคิดปฏิวัติ 
            ชาวจีนผู้ถูกกดขี่รังแก โดยเฉพาะฝ่ายชาย จึงคิดปลดแอกกู้ชาติขึ้นขณะที่มีเวลาออกไปทำไร่ทำนา 
            เมื่อรวมตัวกันได้จำนวนพอสมควร จึงมีแนวความคิดให้มีวันไหว้พระจันทร์เกิดขึ้น ความจริงพิธีนี้ก็ได้เกิดมีมานานแล้ว 
            ผู้คนชาวจีนหัวรุนแรง ต่างรู้สึกว่าวันไว้พระจันทร์เป็นวันดี คืนดี เป็นวันสดชื่นเบิกบาน และเป็นฤดูมีดอกกุ้ยฮวาบานส่งกลิ่นหอมไปทั่ว

 เหตุการณ์กู้ชาติ 
            มีนิทานเล่ากันว่า ในปลายราชวงศ์ซ่ง ต้นรัชกาลหยวน (ราวปี พ.ศ. 1771-1857) พวกตาด (Tartar) บรรพบุรุษของชาวมงโกเลียไ ด้บุกรุกเข้ามายังภาคกลางของจีน มีกำลังและแสนยานุภาพมากก่อกรรมทำเข็ญต่อคนจีนอย่างแสนสาหัส 
            นับแต่นั้นหลาย ๆ ปีต่อมา ก่อนจะถึงเทศกาลวันไหวัพระจันทร์หัวหน้าคนจีนผู้อาวุโสท่านหนึ่งได้คิดแผนการยอดเยี่ยม แนะนำให้หญิงจีนทำขนมเย่วปิ่ง คือขนมไหว้พระจันทร์นั่นเอง 
            แต่แนะนำให้ทำเป็นขนมรูปกลม ๆ และแผ่นโต ๆ ส่งไปให้เพื่อนบ้านชาวจีนบ้านละกล่อง พร้อมกำชับว่า ต้องแบ่งขนมนี้ให้สมาชิกในบ้านกินกันทุก ๆ คน โดยแนะว่าใครได้กินแล้ว จะพ้นจากภัยพิบัติที่จะเกิดในวันที่ 15 เดือน 8 นี้ 
            ชาวจีนต่างรู้เรื่องการปลดแอกนี้น้อยมาก เพียงแต่รู้ว่าถ้าได้กินขนมดังกล่าวแล้ว จะพ้นจากภัยพิบัติ ขจัดความเลวร้ายได้ เมื่อมีการส่งขนมไปให้ จึงพากันแบ่งกันกินจนทั่วหน้า แต่เมื่อตัดขนมออกนั้น จึงพบมีกระดาษซ่อนอยู่แถบหนึ่ง มีตัวอักษรจีนใจความว่า  “ตีสามคืนนี้ (วันไหว้ฯ) จงพากันฆ่าพวกตา       

ชายฉกรรจ์ลุกฮือ 
            ด้วยหนังสือน้อยแผ่นนี้ ชายฉกรรจ์ทั้งหลาย ทุกครอบครัว จึงพยายามสะสมตระเตรียมอาวุธเท่าที่จะหาได้ 
            พอรอคอยจนถึงเวลานัดหมาย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเคาะบอกเวลา 3 ยามดังขึ้น ชายฉกรรจ์เหล่านั้นจึงพากันวิ่งกรูเข้าไปยังค่ายของพวกตาด 
            เนื่องจากมิได้ระมัดระวังตัวมาก่อน และไม่รู้ระแคะระคายแม้แต่น้อย พวกตาดจึงถูกฆ่าตายหมดชั่วอึดใจเดียว

ฉลองชัยชนะ 
            เมื่อฆ่าพวกตาดผู้เป็นข้าศึกศัตรูตายจนหมดสิ้นแล้วชาวบ้านจึงจัดโต๊ะกินเลี้ยงสุราอาหารกันใหญ่โต 
            หลังจากนั้นทุก ๆ ปี เมื่อถึงวันที่ 15 เดือน 8 (ของจีน) ชาวบ้านคนจีน แม้คนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย ก็จะทำ (ซื้อ) ขนมรูปลักษณะกลม ๆ  ข้างในยัดไส้มากินฉลองกัน อย่างที่มีการจัดหาขนมเปี๊ยะยัดไส้มาเซ่นไหว้พระจันทร์สืบมาทุก ๆ วันนี้ 
        ทั้งนี้ นับเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีจิตใจกล้าหาญทำการปฏิวัติปลดแอกชาติจีนจากเงื้อมศัตรูได้เด็ดขาด คงให้มีเทศกาลไหว้พระจันทร์สืบมาตราบเท่าทุกวันปัจจุบัน





ขนมงา หรือที่คนใต้เรียกว่า ขนมจี้โจ้ เป็นขนมแป้งที่ตัวแป้งมีลักษณะเหนียว เป็นสูตรขนมชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาแพร่หลายในไทย ซึ่งนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ปิ๊งไอเดียพลิกแพลงทำเป็น ขนมงาดอกไม้ ซึ่งทีม ช่องทางทำกิน มีสูตรมาเล่า
พลอย-น.ส.ดวงกมล ฉิมปรุ และ บี-น.ส.อิสรีย์ สุขอ่ำ นักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ-ธุรกิจอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เป็นเจ้าของไอเดีย ขนมงาดอกไม้ ปรุงรสขนมสูตรใหม่ที่อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร เอาใจคนรักสุขภาพ โดยนำเอาดอกไม้มาเป็นส่วนผสมในขนมงาอย่างลงตัว กลายเป็นขนมงาดอกไม้รสอร่อย แถมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมี ผศ.อภิญญา พุกสุขสกุล และ ผศ. อุจิตชญา จิตรวิมล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
พวกเราได้เอาขนมงาแบบดั้งเดิมที่ตัวแป้งเหนียว ๆ มาปรับปรุงสูตรใหม่ โดยการเพิ่มแป้งเข้าไปเป็นส่วนผสม และเปลี่ยนจากใช้เผือกมาเป็น ใช้มันไข่ เพราะในมันไข่ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย มีวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) ช่วยเสริมสร้างกระดูก ส่วนตัวไส้เปลี่ยนจากถั่วเหลืองหรือถั่วดำมาเป็น ใช้ถั่วเขียว เพราะถั่วเขียวมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ลักษณะ สีน่าทาน นอกจากนี้ยังได้ เสริม ดอกไม้ 3 ชนิด คือ ดอกคำฝอย ดอกอัญชัน และดอกพวงชมพู เข้าไปด้วย
สองสาวเล่า พร้อมบอกอีกว่า ที่นำดอกไม้มาเป็นส่วนผสม ซึ่งดูน่ารับประทานมากขึ้นนั้น ด้านประโยชน์ในดอกอัญชันมีสารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยล้างสารที่ก่อมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด เพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็ก ดอกคำฝอย ช่วยลดความดันในโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงประสาท ส่วนดอกพวงชมพู ช่วยเรื่องการหลับ ทำให้หลับง่าย และมีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ขนมงาดอกไม้ หลัก ๆ ก็มีเตาแก๊ส, กระทะ, กระชอน, ถาด, กะละมัง, ทัพพี, หม้อสเตนเลส, ครก, ผ้าขาวบาง และอุปกรณ์เครื่องครัวเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
ขนมงาดอกไม้ นั้น ส่วนผสมของตัวแป้ง ตามสูตรประกอบด้วย มันไข่นึ่งสุกบด 4 1/2 ถ้วยตวง, แป้งข้าวเหนียว 2 1/2 ถ้วยตวง, แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง, กะทิข้น 1 1/2 ถ้วยตวง, งาขาวสำหรับคลุก (ปริมาณตามความต้องการ) และน้ำมันสำหรับทอด จากสูตรนี้จะทำขนมงาดอกไม้ได้ประมาณ 10 ลูก
นอกจากนี้ก็ต้องมีส่วนผสมของไส้ ถ้าเป็น ไส้ดอกคำฝอย ใช้ถั่วซีกนึ่งบด 2 ถ้วยตวง, ดอกคำฝอยสับ 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง, เกลือ 1/4 ถ้วยตวง, น้ำมันผัด 2 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็น ไส้ดอกอัญชันใช้ถั่วซีกนึ่งบด 2 ถ้วยตวง, ดอกอัญชัน 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง, เกลือ 1/4 ถ้วยตวง และน้ำมันผัด ถ้าเป็น ไส้ดอกพวงชมพูใช้ถั่วซีกนึ่งบด 2 ถ้วยตวง, ดอกพวงชมพู 3 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง, เกลือ 1/4 ถ้วยตวง, น้ำมันผัด 2 ช้อนโต๊ะ และสีชมพูผสมน้ำ 1 ช้อนชา






แทบไม่น่าเชื่อเมื่อ "ปาท่องโก๋" ที่เราเห็นอยู่ในกระทะทองเหลืองทุกเช้า ทานคู่กับกาแฟก่อนออกไปทำงาน หรือจิ้มนมข้นหวานก่อนไปเรียน จะเกี่ยวข้องกับคู่ผัวเมียที่ "ขายชาติ" จนกลายเป็นที่โจษจันกันไปทั่ว
ปาท่องโก๋ ที่เราเรียกกันจนติดปาก แท้ที่จริงแล้ว เพี้ยนมาจากคำว่า ปั้กถ่งโก๋ ในภาษาจีน ซึ่งคำว่า ปั้ก แปลว่า สีขาว ส่วนคำว่า ถ่ง แปลว่า น้ำตาล และคำว่า โก๋ แปลว่า ขนม
ปั๊กถ่งโก๋ จึงแปลรวมกันได้ว่า ขนมน้ำตาลทรายขาว ดังนั้น ซาลาเปาทอดน่าจะเป็นเจ้าของชื่อ ปั๊กถ่งโก๋ มากกว่า ส่วนชื่อของ ปาท่องโก๋จริงๆ นั้น คนจีนเรียกว่า อิ่วจาก้วย เนื่องจากในสมัยก่อน เมื่อแม่ค้าชาวจีนที่ขายปั๊กถ่งโก๋ มักจะขายอิ่วจาก้วยคู่กันด้วย พอคนขายตะโกนร้องขายขนมสองชนิดนี้ อาจทำให้คนไทยเข้าใจผิดเรียกชื่อสลับกัน คิดว่า เจ้าแป้งสองชิ้นทอดติดกันนี้มีชื่อว่า ปาท่องโก๋ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ ปาท่องโก๋ ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการสาปแช่งคู่สามีภรรยาที่ทรยศขายชาติอีกด้วย

มีตำนานเล่าต่อกันว่า ในสมัยราชวงศ์ซ้อง มีแม่ทัพนายหนึ่งชื่อ งักฮุย เป็นคนที่รักชาติยิ่งชีพ และมีความเก่งกาจสามารถรบชนะข้าศึกเป็นจำนวนมาก จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว จนขุนนาง ฉินข้วย และ ภรรยาแซ่หวัง ซึ่งเป็นคนโลภ ได้ถูกฝ่ายตรงข้ามใช้เงินหว่านล้อมให้ทรยศต่อชาติเป็นพวกได้สำเร็จ เข้ากราบทูลเท็จต่อองค์ฮ่องเต้ว่า งักฮุยคิดการใหญ่ และแอบหลบหนีกองทัพในยามสงคราม ทำให้งักฮุยถูกประหารชีวิต

เมื่อข่าวแพร่ออกไป ชาวบ้านต่างรู้สึกโกรธแค้น จึงใช้วิธีการสาปแช่งด้วยการปั้นแป้งมาประกบติดกัน เพื่อเป็นตัวแทนของ ฉินข้วยและภรรยา ขุนนางขายชาติ ก่อนหย่อนใส่น้ำมันเดือดพล่าน เมื่อแป้งสุกแล้วก็นำมากัดกินด้วยความโกรธเกลียด เพื่อให้สาสมกับการกระทำดังกล่าว และเรียกขนมแป้งแห่งความเกลียดชังนั้นว่า อิ่วจาก้วย หมายถึง น้ำมันทอด ฉินข้วย นั่นเอง





ชุดขนมไหว้
ล้วนมีความหมายมงคล เช่นกัน
1. ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน
2. ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม
3. ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่างๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว
4. ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต
5. ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพอง
ฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต
ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แปลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงาม และชีวิตหวานอย่างขนม
6. ขนมอี๊ อี๊ หรืออี๋ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ต้มกับน้ตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน



ขนมเข่งเค้กปีใหม่ (Year cake or Chinese New Year's cake) หรือ   เค้กข้าว (เค้กปีใหม่ ภาษาจีน : 年糕 ออกเสียงภาษาจีนกลางว่า เหนียนเกา หรือ Nián gāo) เป็นขนมมงคล ขนมโบราณของชาวจีนที่มีมานานกว่า 3000 ปี

รูปร่างลักษณะ เป็นก้อนกลมหนา หรือแป้งเปียกถูกห่อเป็นทรงกลมแบนอยู่ในกระทงหรือแข่งที่ทำจากใบตอง ปัจจุบันมีแบบที่ใช้ถูงพลาสติกห่อแทนใบตอง มีทั้งสีขาว สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลแก่ ตรงกลางนิยมแต้มจุดสีแดงเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับ ประกอบพิธีไหว้
ส่วนผสม มีทั้งแบบใช้แป้งข้าวเจ้า และแบบใช้แป้งข้าวเหนียว แต่ส่วนใหญ่มักจะทำจากแป้งข้าวเหนียว
สภาพหรือลักษณะ ขนมเข่ง มีหลายแบบ ได้แก่ นุ่มเหนียวเป็นกาว, นิ่มเหนียวเป็นยาง, แข็งแบบยางแข็ง และแข็งแบบอิฐในกรณีที่เก็บไว้นานจนแห้ง  ส่วนรสชาติ มีทั้งแบบหวาน และจืด





เทศกาล “บ๊ะจ่าง (端午 ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงวเป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน  ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล “บ๊ะจ่าง” มาจากไหน ใครเป็นคนกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และ มีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน 
 เทศกาล “บ๊ะจ่าง ??” หรือ หรือเทศกาลไหว้ “ขนมจ้าง” เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5ตามของปฏิทินจีน เรียกชื่อตามตำราว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย“ บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า “จั่ง粽子(จ้งจึ)” แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า “ปักจั่ง
    เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก


 เอ่ยชื่อ กุยช่าย เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพี่น้องไทยจีน เพราะเป็นขนมมงคลจีนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการไหว้เจ้าที่สืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งขนมกุยช่ายที่ใช้ในพิธีนั้นจะเป็นสูตรโบราณแท้ ๆ ตัวแป้งจะเป็นสีชมพู แต่ที่เราคุ้นตามักจะเป็นกุยช่ายสีขาว ปัจจุบันนิยมรับประทานกันมาก มีขายอยู่ทั่วไป วันนี้ทางทีมงาน ช่องทางทำกินมีข้อมูล กุยช่ายสูตรโบราณดั้งเดิมของชาวจีนแท้ ๆ มาเสนอให้ผู้อ่านได้ลองศึกษากัน
กุยช่ายโบราณ ทำขายสร้างอาชีพได้
ฮุยหงี่ แซ่เตียว หรือ หงี่เจ็กเป็นผู้เล่าถึงสูตรขนมกุยช่ายโบราณแบบชาวจีนหนึ่งศตวรรษ ชุมชนคลอง 3 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยหงี่เจ็กเล่าให้ฟังว่า ชุมชนคลอง 3 นี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว อาศัยอยู่ ชาวบ้านมีวิถีผูกพันกับสายน้ำคลองรังสิตมายาวนาน เมื่ออดีตชุมชนนี้เป็นท่าเรือขนส่งซื้อขายข้าวที่สำคัญ
สมัยเป็นเด็กหนุ่ม ๆ มีอาชีพค้าข้าวเปลือก พออายุ 48 ปีเรี่ยวแรงชักไม่ไหวก็หันมาทำขนมถ้วยขายส่ง ขายอยู่ 4-5 ปีก็เลิกเพราะประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ลูกชายให้อยู่บ้านเฉย ๆ พอดีเพื่อนบ้านที่เคยกินขนมเข่งและขนมกุยช่ายของหงี่เจ็กมาว่าจ้างให้ทำขนมเข่ง ขนมกุยช่าย และขนมอื่น ๆ ของจีน ก็เห็นว่าไม่ได้ทำอะไรจึงบอกให้ภรรยารับสั่งทำ หลังจากนั้นก็มีคนมาสั่งทำเรื่อย ๆ โดยเฉพาะขนมกุยช่ายโบราณจะได้รับความนิยมมากที่สุด
สูตรการทำ ขนมกุยช่ายโบราณ นี้ หงี่เจ็กบอกว่า ภรรยาได้จำมาจากพี่สะใภ้ของหงี่เจ็ก คือเรียนรู้สูตรโดยการสังเกตดูหลาย ๆ ครั้ง แล้วมาฝึกทำและปรับสูตร เพราะคนจีนจะหนักไปทางรสเค็ม จึงต้องปรับรสชาติใหม่โดยการเพิ่มความหวานและลดความเค็มลง ที่สำคัญคือสูตรขนมกุยช่ายโบราณนี้ไม่รับประทานคู่กับน้ำจิ้ม
________________________________________________________________________________________

2 ความคิดเห็น:

  1. เห็นแล้วคิดถึงวันไหว้พระจันทร์เลยอ่า ขนมกุยช่ายนี่ก็อร่อยนะค่ะ เคยทานอร่อยดี

    ตอบลบ