วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ขนมชาวออสเตรเลีย ^ ^


ขนมชาวออสเตรเลีย ^ ^

               ชาวไทยในนครซิดนีย์ร่วมกันจัดงานสงกรานต์มีงานออกร้าน ขายข้าวแกง และแสดงศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ชาวออสเตรเลียได้ชมที่สวนทามาลองปาร์คในเขตดาลิ่งฮาร์เบอร์ ผมเห็นพี่คนหนึ่งที่ทำขนมไทยเป็นอาชีพ เธอมีขนมมากมายมาขายเด็กๆ อย่างผม อาทิเช่น ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ขนมชั้น, ขนมเปียกปูน, ขนมกล้วย, ข้าวเหนียวสังขยา, ข้าวต้มมัด  เป็นต้น ประชาชนชาวไทยในนครซิดนีย์อยู่อย่างมีความสุขได้เพราะขนมของเธอจริงๆ



Lamingtons ขนมเค้กคลุกมะพร้าว 
เกริ่นเรื่องมานี้ ทำให้ผมนึกถึงเพื่อนชาวออสเตรเลียของผมคนหนึ่งที่รู้จักกัน เขาชอบฝากผมซื้อขนมเค้กก้อน ที่ชาวออสเตรเลียเรียกว่า ลามิงตัน (Lamingtons) จากร้านขายขนมเค้กหรือร้านขายกาแฟ   
เขาบอกว่า ให้ขอซื้อเค้ก Lamingtons (และเน้นกับผมว่า ชาวออสเตรเลียทุกคนต้องรู้จัก) ตอนแรกๆ ผมก็มึน ความรู้สึกเหมือนบ้านนอกเข้ากรุง ไม่รู้จักเจ้า Lamingtons (พอจะเปรียบเทียบเสมือนฝรั่งไม่รู้จักทองหยอดอย่างไรอย่างนั้น) พอไปถึงร้านขายขนมเค้า เจ้าของร้านก็บอกว่าขายหมดไปแล้ว ผมเลยไม่มีโอกาสได้รู้ว่ามันคืออะไร  
จนกระทั่งวันหนึ่ง เขาซื้อขนมเค้กนี้มาให้ผม ผมจึง “อ๋อ คุณเค้กบ้านี่เอง” อ๋อตรงที่ว่า ผมเคยเห็นมาแล้ว รับประทานก็แล้ว เพราะมีขายอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน จึงกลับมาบ้านทำรายงาน ค้นคว้าว่าเจ้า Lamingtons มันคืออะไร ผมจะเล่าให้ฟังแบบที่ออสซี่เล่าให้ผมฟังเลยครับว่า เขาทำLamington กันอย่างไร 
Lamingtons มีที่มาที่ไปอย่างไรไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่พอจะทราบความมาว่า เด็กๆ ชาวออสเตรเลีย เบื่อขนมเค้กแบบธรรมดาๆ มาก แม่บ้านคนหนึ่งจึงคิดสนุก เอาครีมทาหน้าเค้กรสชอกโกเลตทาโดยรอบแล้วไปคลุกด้วยกากมะพร้าวป่นๆ  ตากให้แห้ง แล้วก็มาให้เด็กๆ รับประทาน  เด็กๆ ก็ชอบใจ พอใครถามว่ามันเรียกว่าอะไร เธอก็บอกว่า มันคือ “ลามิงตัน”  ตั้งแต่นั้นมา เด็กๆ คงจะติดใจ เลยมีการทำกันเป็นล่ำเป็นสัน กันสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  เวลาถามหาเค้กตัวนี้ เราก็จะต้องถามหาLamingtons (ใช้ชื่อนี้ไปเลย ไม่ใช้คำว่าเค้ก) วันนี้ก็จะพาเข้าเบเกอรี่เลยก็แล้วกัน
วิธีทำขนมเค้ก Lamingtons (แบบคนขยัน และแบบคนขี้เกียจ) 
1.      อันดับแรก เราต้องอบ Sponge cake (ขนมเค้กธรรมดาๆ) ให้เป็น(เค้ก) ก่อน ให้พอรับประทานได้ก่อน หรือ วิธีลัด ก็คือไปซื้อเค้กที่ยังไม่ได้แต่งหน้ามา  แต่ต้องมั่นใจว่าเค้กที่อบหรือซื้อมานั้น ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม ห้ามซื้อหรือทำแบบกลมๆ (เพราะเค้กนี้ของแท้ตำรับดั้งเดิมต้องเป็นรูปเหลี่ยมเท่านั้น)
2.      ตัดเค้กเป็นก้อนๆ สี่เหลี่ยมลูกเต๋าใหญ่เท่ากำมือ ทาด้วย Frosting (ที่แต่งหน้าเค้ก) ช็อกโกแลตโดยรอบ
3.      แล้วเอาไปกลิ้งในมะพร้าวขูดฝอย
4.      ตากไว้ให้แห้ง
5.      รับประทานได้ตามใจชอบ

ส่วนผสมของ Frosting
น้ำตาลไอซิ่ง 2 ถ้วย
น้ำเดือด 1 ช้อนชา
กลิ่นวนิลา 1 ช้อนชา
โกโก้ 2 ช้อนชา
 วิธีทำ 
นำน้ำตาลไอซิ่งใส่ถ้วย, น้ำเดือด และกลิ่นวนิลา แล้วใส่โกโก้ ซึ่งคลุกกับไอซิ่งจนเข้ากันดีและกลายเป็นสีน้ำตาลดำ 




Damper แป้งอบ แป้งเผา 
ก็เลยถือโอกาสนี้เล่าเพิ่มถึงอาหารว่างอีกอย่างหนึ่งคือเจ้า Damper 
ส่วนประกอบของ Damper มีสองอย่างคือ แป้ง น้ำ และ เกลือ 
วิธีทำง่ายๆ ของเขาคือ เอาแป้ง 500 กรัม และเกลือ 1½ช้อนชา ใส่ในชามใหญ่ ใส่น้ำ 3 ช้อนโต๊ะ แล้วก็คลุกผสมกัน  ใส่น้ำเพิ่มได้ตามต้องการ ทำให้เป็นก้อนแป้ง แล้วปั้นเป็นลูกบอล บี้ให้กลม แล้วทำให้แบน มีความหนาของแป้งประมาณ 6 เซนติเมตร  เสร็จแล้ว เอา แป้งนี้ เข้าไปอบในเตาผิงไฟ จนแป้งสุก  ซึ่งมันอาจจะดำๆ (ประมาณ 30 นาที)  หรือหากจะอบแบบดีหน่อยก็ให้ห่อกระดาษฟลอย  ถ้าไม่ชอบให้แป้งไหม้ใช้อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 30 นาที  แต่ถ้าอยู่ในป่า ให้เอาแป้งห่อไม้เอาไว้ (เหมือนกุ้งพันอ้อย) แล้วก็ผิงไฟที่ก่อจนกว่าจะสุกดี   ไม่ว่าจะทำแป้งอบด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ พอสุกแล้วก็เสิร์ฟได้ทันที โดยปรกติจะเสิร์ฟกับเนย



    เมอแรงก์ ( meringue )
ชาติฝรั่งมีของหวานประเภทหนึ่ง เรียกกันว่า เมอแรงก์ ( meringue ) ซึ่งเกิดจากการเอาไข่ขาวมาตีกับน้ำตาลแล้วนำไปอบ และของหวานประเภทนี้ ก็มีอยู่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ปาฟลอฟว่า หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า ปาฟ แต่โดยทั่วไป ส่วนมากก็มักจะจัดของหวานรายการนี้อยู่ในประเภทเค้ก อาจจะเป็นเพราะการที่มันมีการตกแต่งหน้าเหมือนกับเค้กนั่นเอง
   ชื่อปาฟลอฟว่านี้ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติกับนักเต้นบัลเล่ต์ระดับตำนานชาวรัสเซีย อย่าง อันนา ปาฟลอฟว่า ( ตามจริงในภาษารัสเซียออกเสียงว่า ปาฟลาว่า ) ซึ่งเสียชีวิตไปเมื่อตอนอายุ 50 ปี ตั้งแต่เมื่อต้นปี 1931 แล้ว
ขนมนี้ ปัจจุบันเป็นขนมยอดนิยม และมีบทบาทสำคัญในอาหารประจำชาติของทั้งออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ โดยส่วนมาก คนในทั้งสองประเทศ มักจะทำกันในช่วงการฉลองโอกาสพิเศษ หรือไม่ก็เป็นอาหารในช่วงเทศกาลวันหยุด อย่างเทศกาลคริสต์มาส
    เชื่อกันว่า ขนมนี้ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นเกียรติกับการเดินทางมาเปิดการแสดงของอันนา ปาฟลาว่า แถวออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในยุค 20 แต่ปัจจุบัน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่า ชาติไหนที่เป็นเจ้าของสูตรขนมชื่อนักบัลเล่ต์ชื่อดังรายนี้ ระหว่างออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ แต่หลักฐานที่พอจะมีอยู่ ชี้ออกมาทางนิวซีแลนด์มากกว่า
    ฝ่ายนิวซีแลนด์บอกว่าหลักฐานเก่าแก่ที่สุดที่พบ ก็คือการตีพิมพ์สูตรขนมที่ว่านี้ในนิตยสารระดับท้องถิ่นของนิวซีแลนด์ในปี 1929 และก็มีการอ้างว่า ผู้รังสรรค์สูตรขนมนี้ขึ้นมา ก็คือพ่อครัวชาวนิวซีแลนด์ของโรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงเวลลิงตัน ตอนที่ปาฟลอฟว่า มาเปิดการแสดงที่นี่ในปี 1926
     ในส่วนของฝ่ายออสเตรเลีย เอกสารเก่าแก่ที่สุดบอกว่าผู้ที่ทำขนมนี้ คือนาย Bert Sachse แห่งโรงแรม Esplanade ในเมืองเพิร์ธ ของออสเตรเลีย ที่ทำไว้เมื่อปี 1935 ซึ่งก็ถือว่าตามหลังของนิวซีแลนด์อยู่หลายปี  แต่ทางญาติของนาย Sachse ก็บอกว่าตัวเลข 1935 อาจจะเป็นตัวเลขที่ผิดพลาดก็ได้ เพราะตามจริงมันน่าจะเก่าแก่กว่านั้น






ส่วนวิธีการเตรียมขนมประเภทนี้แบบคร่าวๆ ก็คือ การตีไข่ขาวจนขาวข้น ก่อนจะเติมน้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆอย่างแป้งข้าวโพด จากนั้นก็นำไปอบ ซึ่งจะทำให้ด้านนอกของขนมกรอบ ส่วนด้านในจะนุ่ม ซึ่งความนุ่มข้นนี้ ขนมปาฟลอฟว่า จะแตกต่างจากขนม เมอแรงก์แบบอื่นๆ
ตามธรรมเนียมแล้ว ขนมนี้มักประดับประดาด้วยวิปครีม และผลไม้อื่นๆเช่นกล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี่ ลูกกีวี และอื่นๆ ทำให้มันดูคล้ายขนมเค้ก  (แต่ลองถามน้องที่ทำงาน ที่เขาเคยกินชนมเมอแรงก์ บอกว่าขนมเมอแรงก์ ไม่มีการแต่งหน้า )
เขียนมาซะยืดยาว แต่ตั้งแต่เกิดมายังไม่เคยเห็นขนมแบบนี้ตัวเป็นๆเลย 55555
ว่ากันเรื่องขนมไปแล้ว มาพูดถึงบุคคลอันเป็นที่มาของชื่อขนมกันบ้าง

อันนา ปาฟลอฟว่า เกิดเมื่อต้นปี 1881 ที่เซ็นปีเตอร์สเบิร์ก ที่ตอนนั้นเป็นเมืองหลวงของประเทศ และต่อมาเธอได้ชื่อว่าเป็นนักบัลเล่ต์คลาสสิกหญิงที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยเธอเป็นนักบัลเล่ต์หญิงคนแรก ที่ออกไปเปิดการแสดงทั่วโลก





     อาหารท้องถิ่น: สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสวัฒนธรรม การกินของชาวออสเตรเลียนอย่างแท้จริง แนะนำให้ไปลองชิม อาหารพื้นเมืองออสเตรเลียขนานแท้ ได้แก่ Shepherd Pie หรือจะเป็นอาหารจานโปรดของชาวออสซี่ เช่น Vegemite ถ้าเอ่ยถึงของหวานก็จะเป็น Lamington หรือ Lemmington ขนมหวานออสเตรเลียนที่ใครได้ลองเป็นต้องติดใจไปทุกราย ซึ่งนิยมทานกับน้ำชาหรือกาแฟยามบ่าย...



  Pavlova (พัฟโลวา)
   Pavlova (พัฟโลวา) ถ้าจะเปรียบดูวิธีทำแล้ว ก็คือขนม Meringue (เมอร์แรงก์) ของชาวฝรั่งเศส นั่นแหละค่ะ เชื่อว่าผู้ที่รักการทำขนมเค้กหรือเบเกอรี่ต้องรู้จักขนมนี้กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว ขออภัยหากมีการรีวิวซ้ำนะคะ ลักษณะของขนม Pavlova ก็คือขนมแบบกรอบซึ่งได้จากการตีไข่ขาวกับน้ำตาล นั่นเอง
    ขนม Pavlova นี้ มีเรื่องเล่าว่า ตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบัลเลท์ชื่อก้องโลกชาวรัสเซีย ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ชื่อ Ms. Ann Pavlova ที่ได้เดินทางไปแสดงทั่วโลกในขณะนั้น ว่ากันว่า ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ต่างอ้างตนเป็นผู้คิดค้นขนมนี้ขึ้น โดยนิวซีแลนด์ เป็นชาติแรกที่เชื่อว่าขนมนี้เกิดขึ้นในประเทศของตนก่อนคนอื่น เมื่อปี ค.ศ. 1926 ซึ่งเป็นช่วงที่ Ms. Pavlova ไปหลบพายุที่ประเทศนี้ ต่อมาออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่สองที่อ้างว่าขนมนี้เกิดที่ประเทศของตนนะ โดย chef Bert Sachse ของโรงแรม The Esplanade Hotel, Perth เป็นผู้คิดค้นสูตรขนมนี้ ในปี ค.ศ. 1935 หลังจากที่Ms. Ann Pavlova ไปพักที่โรงแรมแห่งนี้
     เรื่องเล่าก็น่าสนใจดีนะคะ โดยส่วนตัวคิดว่าที่เขาตั้งชื่อขนมตามนักบัลเลท์ท่านนี้ ก็คงเป็นเพราะลักษณะของขนมเป็นสีขาวพอง ๆ เหมือนกระโปรงของนักบัลเลท์กระมังคะ

สูตรที่ทำในวันนี้ได้จากตำราอาหาร The Oprah Magazine Cookbook เป็นตำรารวมเล่มสูตรอาหารที่ได้ลงในนิตยสารของ Oprah เศรษฐีนีด้านการบันเทิงของอเมริกา เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักอยู่แล้ว ในหนังสือเขาจะทำขนมในลักษณะแบบดั้งเดิม คือเทไข่ขาวที่ตีแล้ว เป็นกอง แล้วก็เกลี่ยด้วยหลังช้อน ให้เป็นหลุมตรงกลาง แล้วนำเข้าเตาอบ เมื่อสุกได้ที่แล้ว ก็แต่งรสชาติหน้าตาด้วยวิปปิ้งครีมและเบอร์รี่ต่าง ๆ วันนี้เราทำเป็นแบบมินิ เล็ก ๆ คืออยากให้เขาสวยน่ะค่ะ แต่ปรากฏว่าทำยากเหมือนกัน เพราะต้องกะอุณหภูมิใหม่เอง คือแบบเล็ก อุณหภูมิที่อบก็ต้องอ่อนตามขนาดของขนมไม่อยากบอกว่าเราลองทำตั้งสามครั้งแล้ว แต่ละครั้งขนมที่ได้ก็กรอบอร่อยอ่ะค่ะ แต่ข้อยากก็คือทำยังไงเขาถึงจะขาวไม่มีรอยไหม้ ทำครั้งแรกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ครั้งที่สองเป็นสีน้ำตาลรำไร ครั้งที่สามเป็นสีอะไรก็ช่างแล้วค่ะ เพราะเหนื่อย แหะแหะ ได้ออกมาก็ดีขึ้นมาก 



___________________^ ^_______________________________________

ขนมชาวฝรั่งเศส

  ขนนชาวฝรั่งเศส ^ ^
Christmas Pudding
ของหวานอันดับแรกจัดได้ว่ายอดนิยมจริงๆสำหรับครอบครัวชาวอังกฤษและอเมริกันนั่นคือ คริสต์มาสพุดดิ้ง Christmas Pudding (ไม่ใช่พุดเดิลนะค๊าบบบ...) ลักษณะคล้ายฟรุ๊ตเค้กเนื้อชุ่มฉ่ำ ลูกใหญ่ยักษ์ ประกอบไปด้วยผลไม้แห้งอาทิเช่น ลูกเกด แอพริค็อต อินทผลัม ผิวส้มและ อัลมอนด์ หมักกับเหล้ารัมหรือบรั่นดี วิธีทำนั้นต่างกับการทำเค้กโดยสิ้นเชิงเพราะว่าพุดดิ้งใช้วิธีนึ่งให้สุก ซึ่งต้องใช้เวลานาน 6-8 ชั่วโมงทีเดียว เห็นหรือยังครับว่าการทำคริสต์มาสพุดดิ้งนั้นเรื่องใหญ่จริงๆ





เค้กผลไม้ตลาดแตก ที่แทบไม่เจอเนื้อแป้งเลยจริงๆ
ถัดมาก็คล้ายๆกับคริสต์มาสพุดดิ้ง แต่ต่างตรงวิธีทำนั่นคือ คริสต์มาสฟรุ๊ตเค้ก ที่ใช้วิธีอบให้สุก ฟรุ๊ตเค้กนี้จะใส่ผลไม้เชื่อมแห้งนานาชนิดเช่น ลูกเกดดำและขาว เชอรี่เชื่อม แอพริค็อต ถั่วต่างๆฯลฯ หมักเหล้ารัมหรือบรั่นดีอย่างฉ่ำ เสริมด้วยเครื่องเทศอย่าง อบเชย ลูกจันทร์ป่น เมื่อผ่าออกมาแล้วจะเห็นได้ว่าคนทำเค้กนี้เสียสติไปแล้ว ที่ใส่ผลไม้กันอย่างเมามัน ฟรุ๊ตเค้กลูกหนึ่งน้ำหนักเฉลี่ยลูกละ 2-3 กิโลฯทีเดียว สามารถเก็บกันได้เป็นแรมเดือนด้วยอิทธิฤทธิ์ของเหล้าที่ใช้ใส่ในเค้กนั่นเอง



Dresden Weihnachsstollen
ดูเหมือนอะไรๆในช่วงคริสต์มาสจะใส่ผลไม้แห้งกันหนักมือเสียเหลือเกิน อิทธิพลของผลไม้แห้งเหล่านั้นยังลามปามมาถึงขนมปังด้วยครับ ขนมปังที่อุดมไปด้วยผลไม้ฉ่ำและเหล้าหอมๆ คงต้องยกให้สุดยอดขนมปังผลไม้จากเยอรมันที่เรียกว่า  คริสต์มาส ชโตลเลน Stollen หรือเรียกเต็มๆว่า Weihnachsstollen (ภาษาเยอรมันนะครับ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษคงแปลได้ว่า ขนมปังหัวขโมย) หน้าตาของมันอาจจะดูแปลกๆ ที่ขาวโพลนอย่างนี้เพราะน้ำตาลไอซิ่งนั่นเอง ชโตลเลนตำรับขึ้นชื่อต้องมาจากเมืองเดรสเดน ที่มีใส้เป็นอัลมอนด์กวน หรือที่เรียกว่า มาร์ซิแพน Marzipan การทำชโตลเลนมักจะเริ่มทำล่วงหน้าก่อนคริสต์มาสประมาณ 1-2 สัปดาห์ คล้ายๆกับการบ่มให้รสชาติดีขึ้นกว่าตอนทำเสร็จใหม่ๆ ซึ่งอันนี้ผมเคยทดลองทำด้วยตัวเองก่อนจะจบจากโรงเรียนเชฟ พอทำเสร็จแล้วยังเอากลับมาเมืองไทยแล้วทานหลังจากที่ทำเสร็จแล้วสองเดือนรสชาติยังดีจริงๆ



เค้กระฆังยักษ์จากอัลซาส Kugelhopf
และถ้าเอ่ยถึงชโตลเลนแล้วไม่เอ่ยถึง คูเกลฮอฟ Kugelhopf ก็คงเหมือนมีสมบัติแล้วขาดอรัญญา คูเกลฮอฟเป็นขนมปังทรงระฆังลูกใหญ่ยักษ์ศุภักษร เนื้อหนานุ่ม มีผลไม้แห้งผสมอยู่แต่ไม่มากเท่ากับชโตลเลน มีตำรับมาจากแคว้นอัลซาสของฝรั่งเศส แล้วตกไปเป็นสมบัติของเยอรมันจากนั้นกระจายไปยังออสเตรีย นอกจากเทศกาลคริสต์มาสแล้ว คูเกลฮอฟยังชอบมาเสนอหน้าในเทศกาลอีสเตอร์ งานแต่งงาน งานรับศีลแบปติสม์ งานฉลองการเก็บเกี่ยวไวน์ แทบทุกเทศกาลของชาวเยอรมันและออสเตรีย จำต้องเห็นคูเกลฮอฟยิ้มอยู่บนโต๊ะอาหารแน่นอน



Panettone Italian fruit bread
และด้วยความอร่อยของขนมปังผลไม้จากเยอรมัน ทำเอาชาวอิตาเลี่ยนมองด้วยความหมั่นไส้ จึงงัดเอา ขนมปังผลไม้อันเอกอุของตนเองมาอวดบ้าง นั่นคือ ปาเนตโตเน Panettone ขนมปังหวานผสมผลไม้เนื้อนุ่มมากๆ เนื่องด้วยอุดมไปด้วยเนยสดปริมาณมากมายจริงๆ นอกจากเนยที่ใส่ขณะตีแป้งโดแล้ว ชาวอิตาเลี่ยนยังใจดีแถมเนยให้อีกหลังจากที่อบเสร็จแล้วโดยการตัดเนยสดมาวางให้ละลายบนหน้าขนมปังอีกต่างหาก โอ้ว.... หากเห็นหุ่นแม่ครัวอิตาเลี่ยนแล้วคงจะพิสูจน์ได้ว่า ชีไม่ขี้เหนียวเนยเลยจริงๆ





Gingerbread House อันนี้ได้รางวัลชนะเลิศจากการประกวด แต่กินบ่ได้อ่ะ
ชาวเยอรมันเห็นเช่นนั้นจึงงัดเอา บ้านขนมปังขิง Gingerbread House มาเกทับเพื่อแสดงความเป็นเลิศในศาสตร์แห่งเบเกอรี่ของยุโรป ที่มาของบ้านขนมปังขิงที่สามารถทานได้ตั้งแต่ฝาบ้านยันหลังคาได้มาจากนิทานปรัมปราของเยอรมันที่เด็กหญิงสองพี่น้องหลงป่าเข้าไปพบกับบ้านขนมของแม่มด แล้วทานบ้านของแม่มดจนเกลี้ยง เรืองจะเป็นอย่างไรต่อผมเองก็จำไม่ได้แล้ว อิอิ แต่ถ้าใครเห็นบ้านขนมปังขิงแล้วคงอดใจไม่ไหวแบบเดียวกับนิทานเป็นแน่แท้



Christmas Log หรือ Buche de Noël
แต่แล้วก็ไม่คลาดจากสายตาชาวฝรั่งเศส ผู้ทีคิดว่าอาหารของตนเป็นต้นแบบแห่งอาหารยุโรป จึงส่งซุงท่อนใหญ่มาถล่มบ้านขนมปังขิงของเยอรมัน นั่นคือ ท่อนซุงคริสต์มาส Christmas Yule Log หรือ Buche de Noël เป็นเค้กม้วนหรือไม่ก็ทำออกมาเป็นมูสเค้กที่ใส่พิมพ์ทรงกระบอกครึ่งวงกลม ไส้ในจะเป็นช็อคโกแลตมูสหรือมูสอื่นๆ ตกแต่งเป็นท่อนไม้ จะมีออกมาสองแบบคือ ซุงท่อนเดียวโดดๆ กับซุงวางเชื่อมกันเป็นรูปตัวที มีรูปสัตว์หรือเห็ดที่ทำด้วยเมอแรงค์หรือน้ำตาลปั้นวางประดับอยู่รอบ น่าทานยิ่งนัก อิอิ
        ที่กล่าวมาทั้งหมด อาจจะมีราคาค่อนข้างสูงไม่เหมาะกับยุคที่กำลังรณรงค์เศรษฐกิจพอเพียง หากอยากจะมีส่วนร่วมในเทศกาลนี้ในราคาย่อมเยาแล้วล่ะก็ ขอเสนอนี่เลย...คุกกี้คริสต์มาสน้อยกลอยใจ น่ารัก กุ๊กกิ๊ก หากได้แพ็คกิ้งดีๆแล้ว ก็ไม่น้อยหน้าขนมราคาแพงๆข้างต้นได้ หรือจะทำเองก็ได้ครับ อาจจะเสียเวลาตกแต่งบ้างแต่หากทำออกมาแล้ว รับรองได้หน้าไปเต็มๆ




Christmas Assorted Cookie
     แถมด้วยขนมฉลองคริสต์มาสสไตล์รัสเซียกันหน่อยครับ เนื่องจากชาวรัสเซียส่วนใหญ่จะนับถือคริสต์นิกายรัสเซี่ยนออโธดอกซ์ จึงมีขนมฉลองคริสต์มาสที่ดูคล้ายพุดดิ้งของอังกฤษ แต่ของรัสเซียจะทำจากชีส เป็นชีสเค้กครับ เรียกว่า ปาชคา Pashka เป็นชีสเค้กที่ใส่พิมพ์ทรงโดม ผสมกับผลไม้แห้งเช่นกันแต่ไม่อบอย่างชีสเค้กสไตล์อเมริกัน รสชาติเป็นอย่างไรไม่ทราบได้เพราะยังไม่เคยทำทานเหมือนกัน อิอิ 



  "ครัวซอง"  เป็นภาษาฝรั่งเศสก็จริง แต่ต้นตำรับขนมนั้นมาจาก ประเทศออสเตรีย

       ตำนานมีอยู่ว่า ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18  แขกออตโตมานได้ยกกองทัพบุกเข้าตีกรุงเวียนนา  แต่ฝ่ายตั้งรับแข็งแกรงเกินกว่าจะแตกพ่ายง่ายๆ  การรบยื้อยุดอยู่จนกระทั่งเจ้าชายออสเตรียพระองค์หนึ่งรวบรวมกำลังพลตีโต้กลับ จนกองทัพแขกแตกพ่าย
ชัยชนะครั้งนั้นสร้างความยินดีแก่ชาวเวียนนาเป็นอย่างมาก  คนทำขนมปังคนหนึ่งเลยคิดทำขนมปัง  ตั้งใจว่าจะให้เป็นที่ ระลึกของชัยชนะครั้งนี้ โดยปั้นเป็นรูปจันทร์เสี้ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของแขกออตโตมาน  เสร็จแล้วก็แจกจ่ายจนเป็นที่แพร่หลาย
ต่อมาต้นศตวรรษที่19  พระเจ้านโปเลียนแห่งฝรั่งเศสบุกตีกรุงเวียนนาแตก ชาวฝรั่งเศสได้ลิ้มลองขนมปังจันทร์เสี้ยวนี้เข้าก็เกิดติดใจ นำกลับไปเผยแพร่ต่อที่มาตุภูมิของตัวเอง

      และตั้งชื่อว่า ครัวซอง มาจากภาษาฝรั่งเศสที่แปลว่า พระจันทร์เสี้ยว  ตามรูปทรงของมันนั่นเอง



สูตร Chocolate Macaroons (หรือที่หลายคนเรียก Chocolate Macarons เพื่อไม่ให้สับสนกับขนม Coconut Macaroons ที่ทั้งหวานทั้งแห้ง) สูตรที่นำมาฝากวันนี้เป็นสูตรของเชฟ Pierre Hermé เชฟชื่อดังชาวฝรั่งเศส ที่ได้ฉายาจากนิตยสาร Vogue ว่าเป็น "The Picasso of Pastry" สูตรมาจากหนังสือชื่อ "Chocolate Desserts by Pierre Hermé" ค่ะ 
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ขนมชาวจีน ^ ^

ขนมชาวจีน ^ ^

ตำนานเทศกาลไหว้พระจันทร์
ความศรัทธาเก่าแก่ 
            ความจริง ชาวจีนมีความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระจันทร์มาแต่โบราณกาล ยิ่งกว่าพระอาทิตย์ การนับปฏิบทินก็นับโดยอาศัยดวงจันทร์เป็นเกณฑ์ ดังที่เรียกว่า จันทรคติ 
            การเพาะปลูก และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง ชาวจีนโบราณจะอาศัยดูจากดวงจันทร์ เพื่อให้เหมาะสมในการทำนาทำไร่ ซึ่งต้องอาศัยเป็นหลัก รวมความว่า ชาวจีนแต่โบราณให้ความสำคัญทางด้านจิตใจต่อดวงจันทร์มาก ในเรื่อง

การทำนา-ไร่                                                 
การเพาะปลูกพืชต่าง ๆ
การเจริญเติบโตของพืช
การเพาะชำพืช และ
การดูปริมาณน้ำขึ้น-น้ำลง
ดังนั้น จึงมองเห็นว่า ดวงจันทร์มีคุณต่อมนุษยชาติมาก ทั้งมีแสงสว่างร่มเย็น สบายตา น่าสดชื่นรื่นรมย์เป็นอย่างมาก อากาศกำลังดี ไม่ร้อนไม่หนาว 
                        อีกตำนานหนึ่ง              มีอีกตำนานหนึ่งที่มีเรื่องราวเล่าสืบต่อกันมา คือวันเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ เป็นวันแห่งการปลดแอกชาติจีน ให้พ้นจากการปกครองของ พวกตาด (Tartar) คือ พวกเผ่ามงโกล จากมงโกเลีย              เนื่องจากสมัยหนึ่ง เข้าสู่ยุคที่ชนเผ่ามงโกลเรื่องอำนาจบุกรุกเข้ามายึดครองแผ่นดินจีนได้              พวกมงโกลได้ก่อกรรมทำเข็ญต่อคนจีนอย่างมาก โดยวางกฎอำนาจไว้ว่า คนจีน 3 ครอบครัว จะต้องเลี้ยงดูคนมงโกล 1 คน ให้อยู่ดีกินดีทุกอย่าง              อาวุธที่เป็นของมีคมขนาดใหญ ขนาดกลาง เช่นมีด ขวาน ตลอดจนของมีคมจะถูกยึดหมด แต่ละครอบครัวให้ใช้ได้แค่มีดบางเล็ก ๆ สำหรับหั่นผักต้มแกงและผัดเท่านั้น              ถ้าบ้านเรือนใกล้เคียงกัน มีดบาง 1 เล่ม อนุญาตให้ใช้ร่วมกันได้ 3 ครอบครัว ใครฝ่าฝืนกฎมีโทษถึงตาย
 เกิดความคิดปฏิวัติ 
            ชาวจีนผู้ถูกกดขี่รังแก โดยเฉพาะฝ่ายชาย จึงคิดปลดแอกกู้ชาติขึ้นขณะที่มีเวลาออกไปทำไร่ทำนา 
            เมื่อรวมตัวกันได้จำนวนพอสมควร จึงมีแนวความคิดให้มีวันไหว้พระจันทร์เกิดขึ้น ความจริงพิธีนี้ก็ได้เกิดมีมานานแล้ว 
            ผู้คนชาวจีนหัวรุนแรง ต่างรู้สึกว่าวันไว้พระจันทร์เป็นวันดี คืนดี เป็นวันสดชื่นเบิกบาน และเป็นฤดูมีดอกกุ้ยฮวาบานส่งกลิ่นหอมไปทั่ว

 เหตุการณ์กู้ชาติ 
            มีนิทานเล่ากันว่า ในปลายราชวงศ์ซ่ง ต้นรัชกาลหยวน (ราวปี พ.ศ. 1771-1857) พวกตาด (Tartar) บรรพบุรุษของชาวมงโกเลียไ ด้บุกรุกเข้ามายังภาคกลางของจีน มีกำลังและแสนยานุภาพมากก่อกรรมทำเข็ญต่อคนจีนอย่างแสนสาหัส 
            นับแต่นั้นหลาย ๆ ปีต่อมา ก่อนจะถึงเทศกาลวันไหวัพระจันทร์หัวหน้าคนจีนผู้อาวุโสท่านหนึ่งได้คิดแผนการยอดเยี่ยม แนะนำให้หญิงจีนทำขนมเย่วปิ่ง คือขนมไหว้พระจันทร์นั่นเอง 
            แต่แนะนำให้ทำเป็นขนมรูปกลม ๆ และแผ่นโต ๆ ส่งไปให้เพื่อนบ้านชาวจีนบ้านละกล่อง พร้อมกำชับว่า ต้องแบ่งขนมนี้ให้สมาชิกในบ้านกินกันทุก ๆ คน โดยแนะว่าใครได้กินแล้ว จะพ้นจากภัยพิบัติที่จะเกิดในวันที่ 15 เดือน 8 นี้ 
            ชาวจีนต่างรู้เรื่องการปลดแอกนี้น้อยมาก เพียงแต่รู้ว่าถ้าได้กินขนมดังกล่าวแล้ว จะพ้นจากภัยพิบัติ ขจัดความเลวร้ายได้ เมื่อมีการส่งขนมไปให้ จึงพากันแบ่งกันกินจนทั่วหน้า แต่เมื่อตัดขนมออกนั้น จึงพบมีกระดาษซ่อนอยู่แถบหนึ่ง มีตัวอักษรจีนใจความว่า  “ตีสามคืนนี้ (วันไหว้ฯ) จงพากันฆ่าพวกตา       

ชายฉกรรจ์ลุกฮือ 
            ด้วยหนังสือน้อยแผ่นนี้ ชายฉกรรจ์ทั้งหลาย ทุกครอบครัว จึงพยายามสะสมตระเตรียมอาวุธเท่าที่จะหาได้ 
            พอรอคอยจนถึงเวลานัดหมาย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเคาะบอกเวลา 3 ยามดังขึ้น ชายฉกรรจ์เหล่านั้นจึงพากันวิ่งกรูเข้าไปยังค่ายของพวกตาด 
            เนื่องจากมิได้ระมัดระวังตัวมาก่อน และไม่รู้ระแคะระคายแม้แต่น้อย พวกตาดจึงถูกฆ่าตายหมดชั่วอึดใจเดียว

ฉลองชัยชนะ 
            เมื่อฆ่าพวกตาดผู้เป็นข้าศึกศัตรูตายจนหมดสิ้นแล้วชาวบ้านจึงจัดโต๊ะกินเลี้ยงสุราอาหารกันใหญ่โต 
            หลังจากนั้นทุก ๆ ปี เมื่อถึงวันที่ 15 เดือน 8 (ของจีน) ชาวบ้านคนจีน แม้คนไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทย ก็จะทำ (ซื้อ) ขนมรูปลักษณะกลม ๆ  ข้างในยัดไส้มากินฉลองกัน อย่างที่มีการจัดหาขนมเปี๊ยะยัดไส้มาเซ่นไหว้พระจันทร์สืบมาทุก ๆ วันนี้ 
        ทั้งนี้ นับเป็นการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีจิตใจกล้าหาญทำการปฏิวัติปลดแอกชาติจีนจากเงื้อมศัตรูได้เด็ดขาด คงให้มีเทศกาลไหว้พระจันทร์สืบมาตราบเท่าทุกวันปัจจุบัน





ขนมงา หรือที่คนใต้เรียกว่า ขนมจี้โจ้ เป็นขนมแป้งที่ตัวแป้งมีลักษณะเหนียว เป็นสูตรขนมชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาแพร่หลายในไทย ซึ่งนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ปิ๊งไอเดียพลิกแพลงทำเป็น ขนมงาดอกไม้ ซึ่งทีม ช่องทางทำกิน มีสูตรมาเล่า
พลอย-น.ส.ดวงกมล ฉิมปรุ และ บี-น.ส.อิสรีย์ สุขอ่ำ นักศึกษาชั้นปี 4 สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ-ธุรกิจอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี เป็นเจ้าของไอเดีย ขนมงาดอกไม้ ปรุงรสขนมสูตรใหม่ที่อุดมด้วยคุณค่าสารอาหาร เอาใจคนรักสุขภาพ โดยนำเอาดอกไม้มาเป็นส่วนผสมในขนมงาอย่างลงตัว กลายเป็นขนมงาดอกไม้รสอร่อย แถมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมี ผศ.อภิญญา พุกสุขสกุล และ ผศ. อุจิตชญา จิตรวิมล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
พวกเราได้เอาขนมงาแบบดั้งเดิมที่ตัวแป้งเหนียว ๆ มาปรับปรุงสูตรใหม่ โดยการเพิ่มแป้งเข้าไปเป็นส่วนผสม และเปลี่ยนจากใช้เผือกมาเป็น ใช้มันไข่ เพราะในมันไข่ ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตที่เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย มีวิตามินเอ (เบต้าแคโรทีน) ช่วยเสริมสร้างกระดูก ส่วนตัวไส้เปลี่ยนจากถั่วเหลืองหรือถั่วดำมาเป็น ใช้ถั่วเขียว เพราะถั่วเขียวมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ ลักษณะ สีน่าทาน นอกจากนี้ยังได้ เสริม ดอกไม้ 3 ชนิด คือ ดอกคำฝอย ดอกอัญชัน และดอกพวงชมพู เข้าไปด้วย
สองสาวเล่า พร้อมบอกอีกว่า ที่นำดอกไม้มาเป็นส่วนผสม ซึ่งดูน่ารับประทานมากขึ้นนั้น ด้านประโยชน์ในดอกอัญชันมีสารแอนโทไซยานิน ที่ช่วยล้างสารที่ก่อมะเร็งและยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด เพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็ก ดอกคำฝอย ช่วยลดความดันในโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อน ๆ บำรุงประสาท ส่วนดอกพวงชมพู ช่วยเรื่องการหลับ ทำให้หลับง่าย และมีวิตามินเอสูง บำรุงสายตา
สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ขนมงาดอกไม้ หลัก ๆ ก็มีเตาแก๊ส, กระทะ, กระชอน, ถาด, กะละมัง, ทัพพี, หม้อสเตนเลส, ครก, ผ้าขาวบาง และอุปกรณ์เครื่องครัวเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
ขนมงาดอกไม้ นั้น ส่วนผสมของตัวแป้ง ตามสูตรประกอบด้วย มันไข่นึ่งสุกบด 4 1/2 ถ้วยตวง, แป้งข้าวเหนียว 2 1/2 ถ้วยตวง, แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง, กะทิข้น 1 1/2 ถ้วยตวง, งาขาวสำหรับคลุก (ปริมาณตามความต้องการ) และน้ำมันสำหรับทอด จากสูตรนี้จะทำขนมงาดอกไม้ได้ประมาณ 10 ลูก
นอกจากนี้ก็ต้องมีส่วนผสมของไส้ ถ้าเป็น ไส้ดอกคำฝอย ใช้ถั่วซีกนึ่งบด 2 ถ้วยตวง, ดอกคำฝอยสับ 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง, เกลือ 1/4 ถ้วยตวง, น้ำมันผัด 2 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็น ไส้ดอกอัญชันใช้ถั่วซีกนึ่งบด 2 ถ้วยตวง, ดอกอัญชัน 2 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง, เกลือ 1/4 ถ้วยตวง และน้ำมันผัด ถ้าเป็น ไส้ดอกพวงชมพูใช้ถั่วซีกนึ่งบด 2 ถ้วยตวง, ดอกพวงชมพู 3 ช้อนโต๊ะ, น้ำตาล 1/4 ถ้วยตวง, เกลือ 1/4 ถ้วยตวง, น้ำมันผัด 2 ช้อนโต๊ะ และสีชมพูผสมน้ำ 1 ช้อนชา






แทบไม่น่าเชื่อเมื่อ "ปาท่องโก๋" ที่เราเห็นอยู่ในกระทะทองเหลืองทุกเช้า ทานคู่กับกาแฟก่อนออกไปทำงาน หรือจิ้มนมข้นหวานก่อนไปเรียน จะเกี่ยวข้องกับคู่ผัวเมียที่ "ขายชาติ" จนกลายเป็นที่โจษจันกันไปทั่ว
ปาท่องโก๋ ที่เราเรียกกันจนติดปาก แท้ที่จริงแล้ว เพี้ยนมาจากคำว่า ปั้กถ่งโก๋ ในภาษาจีน ซึ่งคำว่า ปั้ก แปลว่า สีขาว ส่วนคำว่า ถ่ง แปลว่า น้ำตาล และคำว่า โก๋ แปลว่า ขนม
ปั๊กถ่งโก๋ จึงแปลรวมกันได้ว่า ขนมน้ำตาลทรายขาว ดังนั้น ซาลาเปาทอดน่าจะเป็นเจ้าของชื่อ ปั๊กถ่งโก๋ มากกว่า ส่วนชื่อของ ปาท่องโก๋จริงๆ นั้น คนจีนเรียกว่า อิ่วจาก้วย เนื่องจากในสมัยก่อน เมื่อแม่ค้าชาวจีนที่ขายปั๊กถ่งโก๋ มักจะขายอิ่วจาก้วยคู่กันด้วย พอคนขายตะโกนร้องขายขนมสองชนิดนี้ อาจทำให้คนไทยเข้าใจผิดเรียกชื่อสลับกัน คิดว่า เจ้าแป้งสองชิ้นทอดติดกันนี้มีชื่อว่า ปาท่องโก๋ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

นอกจากนี้ ปาท่องโก๋ ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งการสาปแช่งคู่สามีภรรยาที่ทรยศขายชาติอีกด้วย

มีตำนานเล่าต่อกันว่า ในสมัยราชวงศ์ซ้อง มีแม่ทัพนายหนึ่งชื่อ งักฮุย เป็นคนที่รักชาติยิ่งชีพ และมีความเก่งกาจสามารถรบชนะข้าศึกเป็นจำนวนมาก จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว จนขุนนาง ฉินข้วย และ ภรรยาแซ่หวัง ซึ่งเป็นคนโลภ ได้ถูกฝ่ายตรงข้ามใช้เงินหว่านล้อมให้ทรยศต่อชาติเป็นพวกได้สำเร็จ เข้ากราบทูลเท็จต่อองค์ฮ่องเต้ว่า งักฮุยคิดการใหญ่ และแอบหลบหนีกองทัพในยามสงคราม ทำให้งักฮุยถูกประหารชีวิต

เมื่อข่าวแพร่ออกไป ชาวบ้านต่างรู้สึกโกรธแค้น จึงใช้วิธีการสาปแช่งด้วยการปั้นแป้งมาประกบติดกัน เพื่อเป็นตัวแทนของ ฉินข้วยและภรรยา ขุนนางขายชาติ ก่อนหย่อนใส่น้ำมันเดือดพล่าน เมื่อแป้งสุกแล้วก็นำมากัดกินด้วยความโกรธเกลียด เพื่อให้สาสมกับการกระทำดังกล่าว และเรียกขนมแป้งแห่งความเกลียดชังนั้นว่า อิ่วจาก้วย หมายถึง น้ำมันทอด ฉินข้วย นั่นเอง





ชุดขนมไหว้
ล้วนมีความหมายมงคล เช่นกัน
1. ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน
2. ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม
3. ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่างๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว
4. ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต
5. ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพอง
ฟัก เพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต
ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แปลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงาม และชีวิตหวานอย่างขนม
6. ขนมอี๊ อี๊ หรืออี๋ แปลว่ากลมๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ต้มกับน้ตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน



ขนมเข่งเค้กปีใหม่ (Year cake or Chinese New Year's cake) หรือ   เค้กข้าว (เค้กปีใหม่ ภาษาจีน : 年糕 ออกเสียงภาษาจีนกลางว่า เหนียนเกา หรือ Nián gāo) เป็นขนมมงคล ขนมโบราณของชาวจีนที่มีมานานกว่า 3000 ปี

รูปร่างลักษณะ เป็นก้อนกลมหนา หรือแป้งเปียกถูกห่อเป็นทรงกลมแบนอยู่ในกระทงหรือแข่งที่ทำจากใบตอง ปัจจุบันมีแบบที่ใช้ถูงพลาสติกห่อแทนใบตอง มีทั้งสีขาว สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลแก่ ตรงกลางนิยมแต้มจุดสีแดงเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับ ประกอบพิธีไหว้
ส่วนผสม มีทั้งแบบใช้แป้งข้าวเจ้า และแบบใช้แป้งข้าวเหนียว แต่ส่วนใหญ่มักจะทำจากแป้งข้าวเหนียว
สภาพหรือลักษณะ ขนมเข่ง มีหลายแบบ ได้แก่ นุ่มเหนียวเป็นกาว, นิ่มเหนียวเป็นยาง, แข็งแบบยางแข็ง และแข็งแบบอิฐในกรณีที่เก็บไว้นานจนแห้ง  ส่วนรสชาติ มีทั้งแบบหวาน และจืด





เทศกาล “บ๊ะจ่าง (端午 ตวนอู่เจี๋ยหรือ เทศกาลตวงโหงวเป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาแต่โบราณของประเทศจีน  ซี่งปีนี้ตรงกับวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 หลายคนอาจสงสัยว่าตำนานของเทศกาล “บ๊ะจ่าง” มาจากไหน ใครเป็นคนกำหนด เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ และ มีความสำคัญอย่างไรกับประชาชนชาวจีน 
 เทศกาล “บ๊ะจ่าง ??” หรือ หรือเทศกาลไหว้ “ขนมจ้าง” เป็นเทศกาลของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5ตามของปฏิทินจีน เรียกชื่อตามตำราว่า “โหงวเหว่ยโจ่ย“ บ๊ะจ่างนี้คนจีนจะเรียกว่า “จั่ง粽子(จ้งจึ)” แม่บ้านที่มีฝีมือจะลงมือทําขนมจ้างเอง เรียกว่า “ปักจั่ง
    เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญของชาวจีน คือเทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะจ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก


 เอ่ยชื่อ กุยช่าย เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพี่น้องไทยจีน เพราะเป็นขนมมงคลจีนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ในการไหว้เจ้าที่สืบทอดกันมาช้านาน ซึ่งขนมกุยช่ายที่ใช้ในพิธีนั้นจะเป็นสูตรโบราณแท้ ๆ ตัวแป้งจะเป็นสีชมพู แต่ที่เราคุ้นตามักจะเป็นกุยช่ายสีขาว ปัจจุบันนิยมรับประทานกันมาก มีขายอยู่ทั่วไป วันนี้ทางทีมงาน ช่องทางทำกินมีข้อมูล กุยช่ายสูตรโบราณดั้งเดิมของชาวจีนแท้ ๆ มาเสนอให้ผู้อ่านได้ลองศึกษากัน
กุยช่ายโบราณ ทำขายสร้างอาชีพได้
ฮุยหงี่ แซ่เตียว หรือ หงี่เจ็กเป็นผู้เล่าถึงสูตรขนมกุยช่ายโบราณแบบชาวจีนหนึ่งศตวรรษ ชุมชนคลอง 3 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยหงี่เจ็กเล่าให้ฟังว่า ชุมชนคลอง 3 นี้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีคนไทยเชื้อสายจีนแต้จิ๋ว อาศัยอยู่ ชาวบ้านมีวิถีผูกพันกับสายน้ำคลองรังสิตมายาวนาน เมื่ออดีตชุมชนนี้เป็นท่าเรือขนส่งซื้อขายข้าวที่สำคัญ
สมัยเป็นเด็กหนุ่ม ๆ มีอาชีพค้าข้าวเปลือก พออายุ 48 ปีเรี่ยวแรงชักไม่ไหวก็หันมาทำขนมถ้วยขายส่ง ขายอยู่ 4-5 ปีก็เลิกเพราะประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ลูกชายให้อยู่บ้านเฉย ๆ พอดีเพื่อนบ้านที่เคยกินขนมเข่งและขนมกุยช่ายของหงี่เจ็กมาว่าจ้างให้ทำขนมเข่ง ขนมกุยช่าย และขนมอื่น ๆ ของจีน ก็เห็นว่าไม่ได้ทำอะไรจึงบอกให้ภรรยารับสั่งทำ หลังจากนั้นก็มีคนมาสั่งทำเรื่อย ๆ โดยเฉพาะขนมกุยช่ายโบราณจะได้รับความนิยมมากที่สุด
สูตรการทำ ขนมกุยช่ายโบราณ นี้ หงี่เจ็กบอกว่า ภรรยาได้จำมาจากพี่สะใภ้ของหงี่เจ็ก คือเรียนรู้สูตรโดยการสังเกตดูหลาย ๆ ครั้ง แล้วมาฝึกทำและปรับสูตร เพราะคนจีนจะหนักไปทางรสเค็ม จึงต้องปรับรสชาติใหม่โดยการเพิ่มความหวานและลดความเค็มลง ที่สำคัญคือสูตรขนมกุยช่ายโบราณนี้ไม่รับประทานคู่กับน้ำจิ้ม
________________________________________________________________________________________